วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

ช่องทางการสื่อสาร

ช่องทางการสื่อสาร ( Communication channel ) เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับระบบสื่อสารข้อมูล ช่องทางสื่อสารเป็นเส้นทางขนส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่นๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ช่องทางการสื่อสารที่เชื่อมต่อแบบมีสาย และอีกประเภทหนึ่งคือ ช่องทางการสื่อสารที่เชื่อมต่อแบบไร้สาย ช่องทางการสื่อสารที่เชื่อมต่อแบบมีสาย
การเชื่อมต่อแบบมีสาย( wired connection ) เป็นการสื่อสารโดยการใช้สายเชื่อมระหว่างอุปกรณ์ส่งและรับข้อมูล เช่น สายคู่ตีเกลียว สายโคแอกเชียล และสายเส้นใยนำแสง
สายคู่ตีเกลียว ประกอบด้วยสายทองแดงเล็กๆเป็นจำนวนมาก การติดตั้งภายในอาคารจะยึดติดกับตัวยึดบนผนังโดยที่สามารถเสียบสายต่อเข้ากับโทรศัพท์และเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ สายคู่ตีเกลียวจัดได้ว่าเป็นสื่อมาตรฐานในการส่งเสียงและข้อมูลเป็นระยะเวลานาน แต่กำลังจะล้าสมัยในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นจึงมีการพัฒนาสายส่งที่มีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือได้ ในการส่งข้อมูลมากกว่าการใช้สายคู่ตีเกลียว
สายโคแอกเชียล ( coaxial cable ) ประกอบด้วยสายทองแดงเพียงเส้นเดียวเป็นแกนกลางหุ้ม ด้วย ฉนวนสายยาง ถ้าจะเปรียบเทียบการส่งข้อมูลกันแล้ว สายโคแอกเชียลสามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าสายคู่ตีเกลียวประมาณ 80 เท่า ส่วนใหญ่แล้วสายโคแอเชียลจะใช้ในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ แต่ก็สามารถใช้ในการส่งข้อมูลของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้เช่นกัน
สายเส้นใยนำแสง ( fiber –optic cable ) ส่งข้อมูลโดยใช้หลักการสะท้อนของแสงผ่านหลอดแก้วขนาดเล็ก สายเส้นใยนำแสงสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 26 , 000 เท่าของสายคู่ตีเกลียว และเมื่อเปรียบเทียบกับสายโคแอกเชียลสายเส้นใยนำแสงจะมีน้ำหนักเบากว่าและมีความน่าเชื่อมถือในการขนส่งข้อมูลมากกว่าและในการขนส่งข้อมูลจะใช้ลำแสงที่มีความเร็วเทียบเท่าความเร็วของแสง ทำให้การขนส่งข้อมูลรวดเร็วกว่าการขนส่งข้อมูลในสายทองแดงมาก ดังนั้นในอนาคตคาดว่าสายเส้นใยนำแสงจะถูกนำมาใช้แทนที่สายคู่ตีเกลียว
ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless)
ในการเดินสายสัญญาณนั้นบางพื้นที่อาจไม่สามารถทำการเดินสายสัญญาณได้และถึงแม้ว่าทำได้ก็มีข้อยุ่งยากมากมายเกิดขึ้น ดังนั้นการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless Transmission) จึงเข้ามามีบทบาทช่วยให้การเชื่อมต่อสัญญาณทำได้สะดวกขึ้น โดยการสื่อสารแบบไร้สายนี้จะเป็นสัญญาณผ่านสื่อกลางที่เป็นอากาศโดยใช้คลื่นความถี่ที่แตกต่างกัน
ไมโครเวฟ (Microwave)
ไมโครเวฟ เป็นรูปแบบการสื่อสารโดยใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงสามารถสื่อสารในระยะทางใกล้ ๆ ผ่านชั้นบรรยากาศและอวกาศได้ โดยจะทำการส่งสัญญาณจากสถานีส่งสัญญาณส่วนกลางไปยังเสารับสัญญาณในหลาย ๆพื้นที่ สถานีส่วนกลางจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า จานรับและจานส่งคลื่น
ดาวเทียมสื่อสาร (Satellite) คือ สถานีรับส่งสัญญาณไมโครเวฟที่มีจานรับและจานส่งคลื่นความถี่ขนาดใหญ่ และทำงานโดยลอยอยู่ในอากาศซึ่งสถานีดังกล่าวจะทำการติดต่อสื่อสารภาคพื้นดิน ที่มีจานรับส่งสัญญาณไมโครเวฟเหมือนกัน
อินฟราเรด (Infrared)
อินฟราเรด หรือ I.R. คือ รูปแบบการติดต่อสื่อสารข้อมูลโดยใช้คลื่นแสงอินฟาเรด มีลักษณะการสื่อสารคล้ายกับการสื่อสารด้วยคลื่นไมโครเวฟ กล่าวคือ การสื่อสารด้วยแสงอินฟาเรดจะต้องหันตัวรับและตัวส่งให้ตรงกันและไม่มีสิ่งกีดขวางเส้นสายตา (Line-of-sight) หรือขวางแสงอินฟาเรด
คลื่นวิทยุ (Radio)
คลื่นวิทยุ เป็นการสื่อสารแบบไร้สายที่สามารถกระจายสัญญาณได้ในระยะไกล เช่น ระหว่างจังหวัด ประเทศ เป็นต้น และในระยะใกล้ เช่น ภายในบ้านหรือที่ทำงาน เป็นต้น
โทโปโลยีแบบดาว (Star Topology)
 เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง โดยมีฮั (HUB) เป็นจุดผ่านการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละตัว การรับส่งข้อมูลจะต้องผ่านคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสมอ ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงแบบ Point-to-Point ไม่มีการใช้สายข้อมูลร่วมกัน ทำให้ค่าใช้จ่ายเรื่องสายเชื่อมต่อมีราคาสูง เป็นเครือข่ายที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพและสามารถควบคุมการประมวลผลได้อย่างใกล้ชิด
ข้อดี
1.ง่ายในการบริการ  เพราะมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่เดียว
2.อุปกรณ์ 1 ตัว สายส่งข้อมูล 1 เส้น  ทำให้การเสียหายของอุปกรณ์ใดในระบบไม่กระทบต่อการทำงานของระบบอื่น ๆ ในระบบ
3.ควบคุมการส่งข้อมูลได้ง่าย เพราะเป็นการเชื่อมต่อจากศูนย์กลางกับอุปกรณ์อีกจุดหนึ่งเท่านั้น
ข้อเสีย
1.เนื่องจากแต่ละจุดจะต่อโดยตรงกับศูนย์กลาง ทำให้ต้องใช้สายส่งข้อมูลจำนวนมาก ทำให้   เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการติดตั้งและบำรุงรักษา
2.การขยายระบบทำได้ลำบาก การเพิ่มจุดใหม่เข้าไปในระบบ จะต้องเดินสายจากศูนย์กลางออกมา
3.การทำงานขึ้นอยู่กับศูนย์กลาง ถ้าจุดศูนย์กลางเกิดเสียหายขึ้นมา ทั้งระบบก็จะไม่สามารถทำงานได้
Bus Topology
 เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แต่ละตัวด้วยช่องการสื่อสารเพียงช่องเดียว เรียกว่า บัส (Bus) หรือ ทรังก์ (Trunk)  เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต่ออยู่กับบัส และที่ปลายทั้งสองด้านปิดด้วยเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator)  เป็นโทโปโลยีที่ได้รับความนิยม เนื่องจากติดตั้งระบบ ดูแลและติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย โดยไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อน ข้อมูลจะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องใด ๆ ก็ได้ในสองทิศทาง ทำให้ผู้ใช้สามารถส่งข้อมูลตรงไปยังเครื่องที่ต้องการได้ โดยไม่รบกวนจุดอื่น ๆ
ข้อดี
1.ใช้สายส่งข้อมูลน้อย ทำให้ประหยัดช่วยลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษา
2. การใช้สายส่งข้อมูลร่วมกัน ทำให้ใช้สายส่งข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. มีโครงสร้างง่ายและมีความเชื่อถือได้ เพราะใช้สายส่งข้อมูลเพียงเส้นเดียว
4. ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องใดในระบบเครือข่ายไปทำงาน ก็จะไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของระบบเครือข่าย
5. ง่ายในการเพิ่มจุดบริการใหม่เข้าไปในระบบ จุดใหม่จะใช้สายส่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้
ข้อเสีย
1. การหาข้อผิดพลาดของระบบทำได้ยาก   ต้องทำการตรวจสอบทุก ๆ จุดในระบบ
2.ในกรณีเกิดการเสียหายในสายส่งข้อมูล ทำทำให้ทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้
3. จุดในระบบต้องฉลาดพอ เนื่องจากแต่ละจุดในระบบต่อโดยตรงกับบัส ซึ่งหมายความว่า การตัดสินใจว่าใครจะได้ใช้สายส่งข้อมูลจะเป็นหน้าที่ของแต่ละจุดทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพิ่มขึ้น
Ring Topology
 เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเป็นรูปวงแหวน โดยที่ทุกเครื่องสามารถติดต่อกันได้ นั่นคือ เมื่อมีการส่งข้อมูลจากเครื่องหนึ่ง ข้อมูลจะวนไปรอบ ๆ วงแหวนในทิศทางเดียว โดยผ่านไปทีละจุด โดยแต่ละจุดจะตรวจสอบว่าข้อมูลที่ส่งมานั้นเป็นของตนเองหรือไม่ ถ้าใช่จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดไว้ แต่ถ้าไม่ใช่จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังจุดต่อไป
ข้อดี
1.ใช้สายส่งข้อมูลน้อย
2. สามารถตัดเครื่องเสียออกจากระบบได้
ข้อเสีย
1. ถ้าจุดใดจุดหนึ่งเกิดความเสียหาย จะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถติดต่อกันได้ จนกว่าจะตัดเอาจุดที่เสียหายออกจากระบบ
2. ยากในการตรวจสอบข้อผิดพลาด  การตรวจสอบต้องทดสอบระหว่างจุดที่เกิดปัญหาไปกับจุดถัด  
3. การจัดโครงสร้างระบบใหม่จะยุ่งยาก เมื่อต้องการจะเพิ่มจุดใหม่เข้าไป
Wold Wide Web ( WWW ) หมายถึง  เน็ตเวิร์คที่มีการเชื่อมต่อกันไปทั่วโลก   เรียกย่อว่า   เว็บ “  (   Web )  ในเว็บมีอะไรหลายอย่างที่น่าสนใจเก็บรวบรวม  ทำให้สามารถดูเอกสารหรือค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ ซึ่งจะแสดงผลออกมาทีละหน้า  แต่ละหน้าเรียกว่า  เว็บเพจ”  ( Web Page ) แหล่งเก็บเว็บเพจ
wepsite หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นโกดังหรือแหล่งเก็บเว็บเพจต่าง ๆ  ที่มีการเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต   ซึ่งเว็บบราวเซอร์จะทำการติดต่อกับเว็บไซต์ที่เก็บเว็บเพจนั้น ปัจจุบันหน่วยงานต่าง  ๆ ไม่ว่าภาครัฐหรือภาคเอกชน   รวมทั้งองค์กรอิสระต่างๆให้ความสนใจในการสร้างเว็บไซต์ของตัวเอง   เพื่อเป็นแหล่งสารสนเทศ   ข้อมูลและข่าวสารเพื่อการเผยแพร่ข้อมูลภายในองค์กรของตัวเอง
Weppage หมายถึง หน้าหนึ่ง ๆ ของเว็บไซต์ ที่เราเปิดขึ้นมาใช้งาน
Wep browse หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ
ระบบ  (DNS) นี้เป็นระบบจัดการแปลงชื่อไปเป็นหมายเลข IP address โดยมีโครงสร้างฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นเพื่อใช้เก็บข้อมูลที่เรียกค้นได้อย่างรวดเร็ว





วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

ส่งงานบทที่1 Hardware

จงบอกประเภทของแรม(RAM)

SDRAM
รูปแสดง SDRAM
         อาจจะกล่าวได้ว่า SDRAM (Synchronous Dynamic Random Access Memory) นั้นเป็น Memory ที่เป็นเทคโนโลยีเก่าไปเสียแล้วสำหรับยุคปัจจุบัน เพราะเป็นการทำงานในช่วง Clock ขาขึ้นเท่านั้น นั้นก็คือ ใน1 รอบสัญญาณนาฬิกา จะทำงาน 1 ครั้ง ใช้ Module แบบ SIMM หรือ Single In-line Memory Module โดยที่ Module ชนิดนี้ จะรองรับ datapath 32 bit โดยทั้งสองด้านของ circuite board จะให้สัญญาณเดียวกัน


DDR - RAM

 รูปแสดง DDR - SDRAM
       หน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM นี้พัฒนามาจากหน่วยความจำแบบ SDRAM เอเอ็มดีได้ทำการพัฒนาชิปเซตเองและให้บริษัทผู้ผลิตชิปเซตรายใหญ่อย่าง VIA, SiS และ ALi เป็นผู้พัฒนาชิปเซตให้ ปัจจุบันซีพียูของเอเอ็มดีนั้นมีประสิทธิภาพโดยรวมสูงแต่ยังคงมีปัญหาเรื่องความเสถียรอยู่บ้าง แต่ต่อมาเอเอ็มดีหันมาสนใจกับชิปเซตสำหรับซีพียูมากขึ้น ขณะที่ทางเอเอ็มดีพัฒนาชิปเซตเลือกให้ชิปเซต AMD 760 สนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำแบบ DDR เพราะหน่วยความจำแบบ DDR นี้ จัดเป็นเทคโนโลยีเปิดที่เกิดจากการร่วมมือกันพัฒนาของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างเอเอ็มดี, ไมครอน, ซัมซุง, VIA, Infineon, ATi, NVIDIA รวมถึงบริษัทผู้ผลิตรายย่อยๆ อีกหลายDDR-SDRAM เป็นหน่วยความจำที่มีบทบาทสำคัญบนการ์ดแสดงผล 3 มิติ

จงบอกประเภทของรอม(ROM)

Mask ROM
หน่วยความจำประเภทนี้ ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ภายในจะถูกโปรแกรมมาจากโรงงานตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตไอซี เราจะใช้ ROM ชนิดนี้ เมื่อข้อมูลนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง และเหมาะสำหรับงานที่ผลิตครั้งละมากๆ ผู้ใช้ไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงข้อมูลภายใน ROM ได้ ROM ประเภทนี้มีทั้งแบบไบโพลาร์และแบบ MOS

PROM (Programmable ROM)
จากไอซี ROM แบบแรกการโปรแกรมข้อมูลจะต้องโปรแกรมมาจากโรงงาน และต้องผลิตจำนวนมากจึงจะคุ้มค่ากับต้นทุนในการผลิต อีกทั้งโรงงานผู้ผลิตไอซีจะรู้ข้อมูลที่เก็บอยู่ด้วย สำหรับระบบดิจิตอลหรือคอมพิวเตอร์ที่ผลิตออกมาจำนวนไม่มากและต้องการใช้หน่วยความจำ ROM สามารถนำหน่วยความจำ ROM มาโปรมแกรมเองได้ โดยหน่วยความจำนี้จะเรียกว่า PROM ( Programmable Read Only Memory ) หน่วยความจำประเภทนี้ เซลล์เก็บข้อมูลแต่ละเซลล์จะมีฟิวส์ ( fused ) ต่ออยู่ เป็นหน่วยความจำที่ข้อมูลที่ต้องการโปรแกรมจะถูกโปรแกรมโดยผู้ใช้เอง โดยป้อนพัลส์แรงดันสูง ( HIGH VOLTAGE PULSED ) ไอซี PROM ที่ยังไม่ถูกโปรแกรมนั้น ข้อมูลทุกเซลล์หรือทุกบิตจะมีค่าเท่ากันหมด คือ มีลอจิกเป็น 1 แต่เมื่อได้มีการโปรแกรมโดยป้อนแรงดันไฟสูงๆเข้าไปจะทำให้เซลล์บางเซลล์ฟิวส์ขาดไป ทำให้ตำแหน่งที่เซลล์นั้นต่ออยู่มีลอจิกเป็น 0 เมื่อ PROM ถูกโปรแกรมแล้ว ข้อมูลภายใน จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีก เนื่องจากฟิวส์ที่ขาดไปแล้วมาสามารถต่อได้ หน่วยความจำชนิดนี้ จะใช้ในงานที่ใช้ความเร็วสูง ซึ่งความเร็วสูงกว่า หน่วยความจำที่โปรแกรมได้ชนิดอื่นๆ



EPROM (Erasable Programmable ROM)

หน่วยความจำประเภท EPROM เป็นหน่วยความจำประเภท PROM ที่สามารถลบข้อมูลหรือโปรแกรมข้อมูลใหม่ได้ เหมาะสำหรับงานสร้างวงจรต้นแบบที่อาจต้องมีการแก้ไขโปรแกรมหรือข้อมูลใหม่ ข้อมูลจะถูกโปรแกรม โดยผู้ใช้โดยการให้สัญญาณ ที่มีแรงดันสูง ( HIGH VOLTAGE SIGNAL ) ผ่านเข้าไปในตัว EPROM ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ใช้ใน PROM หน่วยความจำประเภทนี้มี 2 ประเภท คือ ประเภทที่ลบข้อมูลด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต หรือที่เรียกกันว่า UV PROM ส่วนอีกประเภทหนึ่งเป็นหน่วยความจำที่ลบข้อมูลด้วยไฟฟ้า เรียกว่า EEPROM ย่อมาจาก Electrical Erasable PROM

เทคโนโลยีมัลติมีเดียในปัจจุบัน

ความหมายของมัลติมีเดีย
                   คำว่า มัลติ” (Muti)  หมายถึง หลาย ๆ  อย่างผสมรวมกัน
                   คำว่า มีเดีย” (Media)  หมายถึง  สื่อ ข่าวสาร  ช่องทางการติดต่อสื่อสาร
                   มัลติมีเดียหมายถึง  การนำองค์ประกอบของสื่อชนิดต่าง ๆ  มาผสมผสานเข้าด้วยกัน  ซึ่งประกอบด้วย
                1. ตัวอักษร (Text)                                              4. เสียง (Sound)
                2. ภาพนิ่ง (Image)                                             5. วิดีโอ (Video)
                3. ภาพเคลื่อนไหว (Animation)
องค์ประกอบของมัลติมีเดีย
1.             ข้อความหรือตัวอักษร (Text)
2.             ภาพนิ่ง (Still Image)
3.             ภาพเคลื่อนไหว (Animation)
4.             เสียง (Sound)
5.             ภาพวีดีโอ (Video)
เสียง (Sound)
                   สามารถนำเข้าเสียงผ่านทางไมโครโฟน  แผ่นซีดี  และวิทยุ

วีดีโอ (Video)
                   วีดีโอในระบบดิจิตอล  สามารถนำเสนอข้อความ หรือรูปภาพ ประกอบเสียงได้สมบูรณ์มากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่น
                   ปัญหาหลักของการใช้วีดีโอคือ  สิ้นเปลืองทรัพยากรของพื้นที่บนหน่วยความจำหลัก
ประโยชน์ของมัลติมีเดีย
                   ง่ายต่อการใช้งาน
                   รับรู้สิ่งต่าง ๆ  บนจอภาพ  ได้แก่  รูปภาพ ไอคอน  ปุ่ม  ตัวอักษร  ทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมและเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ  ได้ตามความต้องการ
                   สร้างเสริมประสบการณ์  ทำให้เกิดมุมมองที่แตกต่างกันและสั่งสมประสบการณ์เพื่อให้เกิดการใช้งานที่เหมาะสม เช่น  การเล่นเกมส์ที่มีวิธีการคล้ายกัน
                   เพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้ เป็นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในระดับต่าง ๆ
                   เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น  คุณลักษณะของมัลติมีเดีย  สามารถสื่อความหมายและเรื่องราวต่าง ๆ  ได้แตกต่างกัน
                   คุ้มค่าในการลงทุน  การใช้โปรแกรมมัลติมีเดียช่วยลดระยะเวลาในการเดินทาง  การบริหารตารางเวลา  ส่งผลให้ได้รับค่าตอบแทนในการลงทุนในระยะเวลาที่เหมาะสม
                   เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ การสร้างผลงานมัลติมีเดียทำให้ผู้ใช้เกิดความเพลิดเพลินและได้ประโยชน์ในการเรียนรู้  เช่น  ผู้ใช้ออกแบบและสร้างเว็บเพจ (Web Page)  ด้วยโปรแกรม               MS. FrontPage
สรุป
คำว่า มัลติมีเดีย  หมายถึง  การนำองค์ประกอบของสื่อชนิดต่าง ๆ  มาผสมผสานเข้าด้วยกัน  ซึ่งประกอบด้วย  ตัวอักษร (Text) ภาพนิ่ง (Image)  ภาพเคลื่อนไหว (Animation)  เสียง (Sound)  และวีดีโอ (Video)  โดยผ่านกระบวนการทางคอมพิวเตอร์  เพื่อสื่อความหมายกับผู้ใช้งาน เช่น ผู้ใช้สามารถเลือกปุ่มคำสั่งจากโปรแกรมมัลติมีเดียนั้น (Interactive Multimedia)  องค์ประกอบของมัลติมีเดียมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน  ประโยชน์ในการใช้งานมัลติมีเดียขึ้นอยู่กับการนำมาประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ
รายชื่อกลุ่ม
1.นางสาวธนิตา ทองสมุทร รหัสนักศึกษา 2541051641112
2.นางสาวสุดารัตน์  ผิวเหมาะ รหัสนักศึกษา 2541051641209























วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบบฐานข้อมูล

 ระบบฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันและถูกนำมาจัดเก็บในที่เดียวกัน โดยข้อมูลอาจเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกันหรือแยกเก็บหลาย  แฟ้มข้อมูล แต่ต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเพื่อประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลในการจัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูลมีข้อดีกว่าการจัดเก็บข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลพอสรุปประเด็นหลัก  ได้ดังนี้
· มีการใช้ข้อมูลร่วมกัน (data sharing)
· ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล (reduce data redundancy)
· ข้อมูลมีความถูกต้องมากขึ้น (improved data integrity)
· เพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูล (increased security)
· มีความเป็นอิสระของข้อมูล (data independency)
            ในการประกอบธุรกิจจะมีข้อมูลต่างๆเกิดขึ้นมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลลูกค้า  ข้อมูลการสั่งของ ข้อมูลพนักงาน ฯลฯ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะต้องมีการเก็บรักษาที่ดี นอกจากนั้นในการตัดสินใจต่างๆจะมีข้อมูลที่ต้องใช้ประมวลผลเพื่อประกอบการตัดสินใจเป็นจำนวนมาก การนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้นั้น ถ้าไม่ได้มีการจัดระเบียบการเก็บที่ดี ก็ย่อมนำมาใช้ได้อย่างยากลำบาก
ทำไมต้องมีระบบฐานข้อมูล
            ระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพจะมีหน้าที่หลักๆดังต่อไปนี้
          การเก็บรักษาข้อมูล ระบบฐานข้อมูลจะช่วยให้การเก็บรักษาข้อมูลเป็นระบบระเบียบ มีการจัดหมวดหมู่ของข้อมูล ซึ่งจะให้ผู้จัดเก็บทำงานได้สะดวกมากขึ้น และป้องกันความผิดพลาดได้
          การนำข้อมูลไปใช้ ข้อนี้จะเป็นหัวใจของระบบฐานข้อมูลเลยทีเดียว ระบบฐานจะทำให้การดึงข้อมูลออกมาใช้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น การสรุปข้อมูลและประมวลผลต่างๆจะทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถนำข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจได้ ยกตัวอย่างเช่น การเก็บข้อมูลใบสั่งของจากลูกค้า ถ้าเราเก็บโดยไม่มีระบบเช่นเก็บสำเนาใบเสร็จทั้งหมดไว้ เราก็จะมีเพียงหลักฐานว่าใครสั่งอะไรไปบ้างเท่านั้น แต่ถ้ามีการเก็บลงระบบฐานข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้คอมพิวเตอร์เข้าช่วย เราจะสามารถดึงข้อมูลสรุป ต่างๆออกมาใช้ได้ เช่น สามารถรวบรวมได้ว่า ลูกค้ารายนี้ สั่งอะไรบ้าง สินค้ารายการนี้ถูกสั่งไปเท่าไร เหลืออีกเท่าไร ฯลฯ
          การแก้ไขข้อมูล เป็นอีกความสามารถหนึ่งที่ระบบฐานข้อมูลจะช่วยให้ทำงานสะดวกขึ้น ยกตัวอย่างเช่น จากข้อที่แล้วตัวอย่างใบสั่งของ ถ้าลูกค้ามีการเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ เราก็สามารถแก้ทีเดียวได้ โดยไม่ต้องเข้าไปแก้ในใบสั่งของแต่ละใบ เป็นต้น
            ซึ่งจากหน้าที่ของระบบฐานข้อมูลจะทำให้เห็นว่า การเก็บข้อมูลอย่างมีระบบกับไม่มีนั้น มีความสามารถและประโยชน์ใช้สอยต่างกันมาก ซึ่งก็คงจะทำให้เห็นประโยชน์ของฐานข้อมูลเด่นชัดขึ้น
ระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
            อันที่จริงแล้วนั้น ระบบฐานข้อมูลไม่จำเป็นจะต้องอิงกับคอมพิวเตอร์เสมอไป ยกตัวอย่างเช่น ระบบบัตรทะเบียนหนังสือในห้องสมุด ระบบบัตรคนไข้ ฯลฯ แม้แต่การที่เราจดบันทึกหมายเลขโทรศัพท์ของเพื่อน ก็ถือได้ว่าเป็นระบบฐานข้อมูลอย่างหนึ่ง  ซึ่งระบบดังกล่าวนี้ ถ้ามีการใช้หลักของการจัดการฐานข้อมูลที่ถูกต้องแล้วละก็ จะสามารถมีความสะดวกในการใช้สอยได้ในระดับหนึ่ง
            แต่ทว่าในปัจจุบันเมื่อเราพูดถึงระบบฐานข้อมูล เราก็มักจะนึกถึงระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการฐานข้อมูลนั้น อาจพูดได้ว่า เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ที่ตรงกับข้อเด่นที่สุดของคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่ง ก็คือ ใช้กับงานที่มีการทำซ้ำเป็นจำนวนมาก มีการประมวลผลที่เป็นระบบ ซึ่งคอมพิวเตอร์จะไม่มีความผิดพลาดอันเกิดจากการเหนื่อยล้าหรือเบื่อหน่าย
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ
1. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database)
       เป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เป็นตาราง (Table) หรือเรียกว่า รีเลชั่น (Relation) มีลักษณะเป็น 2 มิติ คือเป็นแถว (row) และเป็นคอลัมน์ (column) การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตาราง จะเชื่อมโยงโดยใช้แอททริบิวต์ (attribute) หรือคอลัมน์ที่เหมือนกันทั้งสองตารางเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูล ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นี้จะเป็นรูปแบบของฐานข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
2. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Database)

ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะเป็นการรวมระเบียนต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนแต่จะต่างกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะแฝงความสัมพันธ์เอาไว้ โดยระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันจะต้องมีค่าของข้อมูลในแอททริบิวต์ใดแอททริบิวต์หนึ่งเหมือนกัน แต่ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย จะแสดงความสัมพันธ์อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น
3. ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น (Hierarchical Database)
ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น เป็นโครงสร้างที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบพ่อ-ลูก (Parent-Child Relationship Type : PCR Type) หรือเป็นโครงสร้างรูปแบบต้นไม้ (Tree) ข้อมูลที่จัดเก็บในที่นี้ คือ ระเบียน (Record) ซึ่งประกอบด้วยค่าของเขตข้อมูล (Field) ของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ
         ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นนี้คล้ายคลึงกับฐานข้อมูลแบบเครือข่าย แต่ต่างกันที่ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น มีกฎเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งประการ คือ ในแต่ละกรอบจะมีลูกศรวิ่งเข้าหาได้ไม่เกิน 1 หัวลูกศร
นิยามและคำศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล
บิท (Bit) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด
ไบท์ (Byte) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่กิดจากการนำบิทมารวมกันเป็นตัวอักขระ (Character)
เขตข้อมูล (Field) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่ประกอบขึ้นจากตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมารวมกันแล้วได้ความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ชื่อ ที่อยู่ เป็นต้น
ระเบียน (Record) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนเอาเขตข้อมูลหลาย ๆ เขตข้อมูลมารวมกัน เพื่อเกิดเป็นข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ข้อมูลของนักศึกษา 1 ระเบียน (1 คน) จะประกอบด้วย
รหัสประจำตัวนักศึกษา 1 เขตข้อมูล
ชื่อนักศึกษา 1 เขตข้อมูล
ที่อยู่ 1 เขตข้อมูล
แฟ้มข้อมูล (File) หมายถึงหน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำข้อมูลหลาย ๆ ระเบียนที่เป็นเรื่องเดียวกันมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักศึกษา แฟ้มข้อมูลลูกค้า แฟ้มข้อมูลพนักงาน

ส่วนในระบบฐานข้อมูล มีคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้
เอนทิตี้ (Entity) หมายถึง ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ได้แก่ คน สถานที่ สิ่งของ การกระทำ ซึ่งต้องการจัดก็บข้อมูล
ไว้ เช่น เอนทิตี้ลูกค้า เอนทิตี้พนักงาน
- เอนทิตี้ชนิดอ่อนแอ (Weak Entity) เป็นเอนทิตี้ที่ไม่มีความหมาย หากขาดเอนทิตี้อื่นในฐานข้อมูล
แอททริบิวต์(Attribute) หมายถึง รายละเอียดข้อมูลที่แสดงลักษณะและคุณสมบัติของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ เช่น
เอนทิตี้นักศึกษา ประกอบด้วย - แอทริบิวต์รหัสนักศึกษา
- แอททริบิวต์ชื่อนักศึกษา
- แอททริบิวต์ที่อยู่นักศึกษา
ความสัมพันธ์ (Relationships) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้นักศึกษาและเอนทิตี้คณะวิชา เป็นลักษณะว่า นักศึกษาแต่ละคนเรียนอยู่คณะวิชาใดคณะวิชาหนึ่ง
ในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ เราจะใช้หัวลูกศรเพื่อแสดงความสัมพันธ์ ดังตัวอย่างในรูปต่อไปนี้
รูปที่ 1.1 คณะวิชา ß ----------à à นักศึกษา (คณะวิชามีความสัมพันธ์กับนักศึกษา)
ในการระบุความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ จะกำหนดโดยใช้หัวลูกศร และหากพิจารณาความสัมพันธ์จากเอนทิตี้นักศึกษาไปยังเอนทิตี้คณะวิชา อาจจะกำหนดความสัมพันธ์ได้ดังนี้
รูปที่ 1.2 คณะวิชา ----------------à นักศึกษา (นักศึกษาสังกัดอยู่คณะวิชา)
และหากพิจารณาความสัมพันธ์จากเอนทิตี้คณะวิชาไปยังเอนทิตี้นักศึกษา อาจกำหนดความสัมพันธ์ได้ดังนี้
รูปที่ 1.3 คณะวิชา --------------à à นักศึกษา (คณะวิชาประกอบด้วยนักศึกษา)
จากรูปที่ 1.2 จะเห็นได้ว่า นักศึกษา 1 คนจะสามารถสังกัดอยู่ได้เพียง 1 คณะวิชา แต่จากรูปที่ 1.3 จะเห็นได้ว่า 1 คณะวิชาสามารถประกอบด้วยนักศึกษาหลาย ๆ คน
ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง ( One - to - One Relationship )
เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลของเอนติตี้หนึ่งว่า มีความสัมพันธ์กับข้อมูลอย่างมากหนึ่งข้อมูลกับอีกเอนติตี้หนึ่งในลักษณะที่เป็นหนึ่งต่อหนึ่ง เช่น เอนติตี้นักศึกษา กับเอนติตี้โครงงานวิจัยมีความสัมพันธ์กันแบบหนึ่งต่อหนึ่ง คือ นักศึกษาแต่ละคนทำโครงงานวิจัยได้ 1 โครงงานเท่านั้น และแต่ละ
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม ( One - to - Many Relationship )
เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลของเอนติตี้หนึ่งว่ามีความสัมพันธ์กับข้อมูลหลายข้อมูลกับอีกเอนติตี้หนึ่ง เช่น ความสัมพันธ์ของลูกค้าและคำสั่งซื้อเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม คือ ลูกค้าแต่ละคนสามารถสั่งซื้อได้หลายคำสั่งซื้อ แต่แต่ละคำสั่งซื้อมาจากลูกค้าเพียงคนเดียว เป็นต้น
ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม ( Many - to - Many Relationship )
เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลของสองเอนติตี้ในลักษณะแบบกลุ่มต่อกลุ่ม เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างคำสั่งซื้อกับสินค้าเป็นแบบกลุ่มต่อกลุ่ม คือ แต่ละคำสั่งซื้ออาจสั่งซื้อสินค้าได้มากกว่า 1 ชนิด และในสินค้าแต่ละชนิดอาจปรากฏอยู่ในคำสั่งซื้อได้มากกว่า 1 คำสั่งซื้อ
เอนทิตี้ใบสั่งซื้อแต่ละใบจะสามารถสั่งสินค้าได้มากกว่าหนึ่งชนิด ความสัมพันธ์ของข้อมูลจากเอนทิตี้ใบสั่งซื้อไปยังเอนทิตี้สินค้า จึงเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (1:m) ในขณะที่สินค้าแต่ละชนิด จะถูกสั่งอยู่ในใบสั่งซื้อหลายใบ ความสัมพันธ์ของข้อมูลจากเอนทิตี้สินค้าไปยังอินทิตี้ใบสั่งซื้อ จึงเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (1:n) ดังนั้นความสัมพันธ์ของเอนทิตี้ทั้งสอง จึงเป็นแบบกลุ่มต่อกลุ่ม (m:n)
จากคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงอาจให้นิยามของฐานข้อมูลในอีกลักษณะได้ว่า “ฐานข้อมูล” อาจหมายถึง โครงสร้างสารสนเทศ ที่ประกอบด้วยหลาย ๆ เอนทิตี้ที่มีความสัมพันธ์กัน